วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดรับสมัครนักศึกษา  
 
fiogf49gjkf0d
วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2551

หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (Master of Education in Music Education)

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

นักศึกษาจะต้องสอบข้อเขียนวิชาทฤษฎีดนตรี (Music Theory), ประวัติดนตรี (Music History) และภาษาอังกฤษ (English for Graduate Studies)

นักศึกษาที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาดนตรีจะต้องสอบปฏิบัติด้วย (โปรดดูรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงและตัวอย่างเพลงสอบปฏิบัติของแต่ละกลุ่มเครื่องมือในหน้า ตัวอย่างเพลงสอบ)

สอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติประมาณกลางเดือนเมษายน 2551



กำหนดวันสอบคัดเลือกนักศึกษา หลักสูตรดนตรีบัณฑิต
ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2550

ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2551

ครั้งที่ 3 วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2551

ครั้งที่ 4 วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2551
Image

รอบที่ 1-3 รับสมัครทุนความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี โดยเป็นทุนการศึกษาตลอดหลักสูตรจำนวน 10 ทุน

นักศึกษาที่มีสิทธิ์สอบชิงทุนจะต้องสอบปฏิบัติเพื่อชิงทุนอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม

ขอใบสมัครได้ที่สำนักงานรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต

โทรศัพท์ 0-2997-2200-30 ต่อ 5500-5510

วิทยาลัยดนตรี โทรศัพท์ 0-2997-2200-30 ต่อ 3209, 3210



หลักสูตรดนตรีบัณฑิต (Bachelor of Music) 7 แขนงวิชา
1. ดนตรีแจ๊สศึกษา (Jazz Studies)

2. การประพันธ์เพลง (Composition)

3. การแสดงดนตรี (Performance)

4. การผลิตดนตรี (Music Production)

5. ธุรกิจดนตรี (Music Business)

6. ดนตรีศึกษา (Music Education)

7. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)

รายละเอียดการสอบปฏิบัติ

เกณฑ์พื้นฐานที่ใช้ในการสอบสำหรับนักศึกษาทุกเครื่องมือ รวมถึงเอกขับร้องมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. เล่น และ/หรือ ร้อง บันไดเสียง เมเจอร์และไมเนอร์ รวมถึงอาร์เปโจ (Arpeggio)

2. ทักษะการอ่านและ/หรือร้องโน้ต (Sight Reading)

3. ทดสอบโสตทักษะ (Aural Skills)

4. สอบสัมภาษณ์ความรู้ทั่วไปทางดนตรี

5. สอบปฏิบัติเครื่องดนตรีหรือขับร้อง

บรรเลงบทเพลงที่แตกต่างยุคสมัย 2-3 บทเพลง ซึ่งสามารถเลือกได้จาก เพลงเดี่ยว (solo repertoire) เช่น โซนาตา (sonata) หรือ คอนแชร์โต (concerto), แบบฝึกหัด (etudes), หรือท่อนเด่นจากบทเพลงออร์เคสตรา (orchestral excerpts) เป็นต้น

เครื่องดนตรีเอกที่รับ (ยกเว้นแขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา)

ขับร้อง (Voice), เปียโน (Piano), ไวโอลิน (Violin), วิโอลา (Viola), เชลโล (Cello), ดับเบิลเบส (Double Bass), ฟลูต (Flute), โอโบ (Oboe), คลาริเน็ต (Clarinet), บาสซูน (Bassoon), แซกโซโฟน (Saxophone), ฮอร์น (Horn), ทรัมเป็ต (Trumpet), ทรอมโบน (Trombone), ยูโฟเนียม (Euphonium), ทูบา (Tuba), เครื่องตี (Percussion), กลองชุด* (Drums), กีตาร์คลาสสิค (Classical Guitar), กีตาร์ไฟฟ้า* (Electric Guitar), เบสไฟฟ้า* (Electric Bass) และ อีเลคโทน* (Electone)

*หมายเหตุ แขนงวิชาการแสดงดนตรีไม่รับเครื่องดนตรีไฟฟ้า และกลองชุด

แขนงวิชาดนตรีแจ๊สศึกษารับเฉพาะเครื่องมือดังต่อไปนี้

ขับร้อง (Voice), เปียโน (Piano), แซกโซโฟน (Saxophone), ทรัมเป็ต (Trumpet), ทรอมโบน (Trombone), กลองชุด (Drums), กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar), ดับเบิลเบส (Double Bass), และ เบสไฟฟ้า (Electric Bass)

ครื่องตี (Percussion)

นักศึกษาต้องแสดงเครื่องมือดังต่อไปนี้: กลองสะแนร์ (Snare Drum), มาริมบา (Marimba), ไวบราโพน (Vibraphone), หรือ ไซโลโฟน (Xylophone), และ ทิมปานี (Timpani)

กลองสะแนร์ (Snare Drum)

* เทคนิคการใช้กลองสะแนร์ในรูปแบบต่างๆ
* กลองสะแนร์จากบทเพลงออร์เคสตราหรือวงใหญ่ (Orchestral/Band Excerpts)

มาริมบา (Marimba), ไวบราโพน (Vibraphone), หรือ ไซโลโฟน (Xylophone)

* บทเพลงเดี่ยว (Solo Repertoire) โดยใช้เทคนิค 2 ไม้ หรือ 4 ไม้

ทิมปานี (Timpani)

* บอกขั้นคู่ต่างๆ และปรับเสียงทิมปานี
* แบบฝึกหัด (Etude) ของ Goodman หรือ Friese-Lepak หรือท่อนเด่นจากบทเพลงออร์เคสตรา (Orchestral Excerpts) หรือเทียบเท่า

กลองชุด (Drum Set)

เทคนิคการใช้กลองสะแนร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น Single- และ Double-Stroke Rolls เป็นต้น

แสดงจังหวะดังต่อไปนี้

* แจ๊สบัลลาดใช้แซ่ (Slow Jazz Ballad with Brushes) ความเร็ว = 60
* จังหวะสวิงความเร็วปานกลาง (Medium Swing) ความเร็ว = 120
* จังหวะสวิงเร็ว (Up-tempo Swing) ความเร็ว = 240
* จังหวะบอสสาโนวา (Bossa Nova) ความเร็ว = 90
* จังหวะซัมบา (Jazz Samba) ความเร็ว = 100
* จังหวะฟังค์ (16th Note Funk Feel) ความเร็ว = 90
* แจ๊สวอลซ์ 3/4 (Jazz Waltz) ความเร็ว = 132

ทดสอบโสตทักษะคอร์ด (สามารถฟังคอร์ดและแยกแยะได้ว่าเป็นคอร์ดชนิดใด เช่น major, minor, dominant, diminished, และ augmented เป็นต้น)

ค่าเรียนหลักสูตรดนตรีบัณฑิต ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต และมัธยมดนตรี*

หลักสูตรดนตรีบัณฑิต (Bachelor of Music) ในแต่ละแขนงวิชา


แขนงวิชา ค่าเรียนตลอดหลักสูตร (บาท) ค่าเรียนต่อเทอม (บาท)
ดนตรีแจ๊สศึกษา (Jazz Studies) 476,000 59,500
การประพันธ์เพลง (Composition) 460,000 57,500
การแสดงดนตรี (Performance) 480,000 60,000
การผลิตดนตรี (Music Production) 468,000 58,000
ธุรกิจดนตรี (Music Business) 436,400 54,550
ดนตรีศึกษา (Music Education) 464,000 58,000
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) 452,000 56,500

หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (Master of Education in Music Education)

142,000-162,500 บาท ตลอดหลักสูตร หรือ 47,500-57,000 บาท ต่อเทอม



หลักสูตรมัธยมดนตรีสองภาษา (Conservatory Prep-School Bilingual Program)

480,000 บาท ตลอดหลักสูตร (3 ปี) หรือ 80,000 บาท ต่อเทอม


   rgmetal   28 ธ.ค. 50   เวลา 8:54:00       พิมพ์   แจ้งลบ   ส่งหาเพื่อน    IP = 125.27.24.210
 



กรุณา Login ก่อน ถ้าจะตั้งกระทู้ Click ที่นี่
 
ผู้ตอบ :

ข้อความ :
 
 
   

any comments, please e-mail   webmaster@drummerthai.com
All Rights Reserved (C) Copyright 2006 - 2007